×

LOGIN

สมัครสมาชิกใหม่
กรณีลืมรหัสผ่านกรุณา คลิ๊กที่นี่.
×

Shopping Cart : 1

×

LANGUAGE

หน้าหลัก >> บทความ>> ความรู้เรื่องสมุนไพรไทย>> มะคําดีควาย สรรพคุณและประโยชน์
ความรู้เรื่องสมุนไพรไทย
มะคําดีควาย สรรพคุณและประโยชน์

 

มะคำดีควาย (ชนิด Sapindus trifoliatus L.) จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดของต้นหนาทึบ ลำต้นมักคดงอ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้งในทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ผลมะคำดีควาย ผลออกรวมกันเป็นพวง ผลย่อยมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลสดสีเขียว ผิวผลเรียบหรืออาจมีรอยย่นที่ผลบ้าง เปลือกผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมีพู 3 พู และมักจะฝ่อไป 1-2 พู เนื้อในผลมีลักษณะเหนียว ใส เป็นสีน้ำตาล และมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมสีดำเป็นมัน เป็นเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มแข็ง

 

ผลใช้รักษาชันนะตุบนศีรษะ แก้เชื้อรา แก้รังคา (โรคผิวหนังพุพองบนศีรษะเด็ก) ด้วยการใช้ผลประมาณ 4-5 ผล นำมาแกะเอาแต่เนื้อ นำไปต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย แล้วใช้น้ำทาบนศีรษะที่เป็นชันนะตุวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จนกว่าจะหาย หรือจะใช้เนื้อผล 1 ผล นำมาตีกับน้ำจนเกิดเป็นฟอง แล้วใช้สระผมวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย (บางข้อมูลระบุว่าสามารถช่วยป้องกันผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย แก้อาการคันหนังศีรษะ ช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ บำรุงรากผมให้แข็งแรง ช่วยขจัดตัวเหา ไข่เหา หรือนำไปหมักเอาน้ำทาแก้โรคสะเก็ดเงิน) แต่ต้องระวังอย่าให้เข้าตา เพราะจะทำให้แสบตา ตาอักเสบได้ และไม่ควรทิ้งไว้นานจนเกินไป

นอกจากนี้ ผลใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ใช้รักษาโรคตัวร้อน นอนไม่หลับ นอนสะดุ้ง ผวา แก้สลบ แก้สารพัดพิษ สารพัดกาฬ แก้ไข้สารพัดไข้ทั้งปวง แก้ไข้จับเซื่องซึม ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปากเปื่อย แก้ฝีเกลื้อน แก้พิษ แก้หัด สุกใส

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะคำดีควาย 

  • สารสำคัญที่พบได้แก่ ß-Sitosterol, Emarginatoside, Quercetin, Quercetin-3-a-A-arabofuranoside, O-Methyl-Saponin, Sapindus – Saponin[2]
  • จากการทดลองทางคลินิกด้วยการใช้น้ำสกัดมะคำดีควายฉีดเข้าทางช่องท้อง พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ[9]
  • เนื้อผลมีฤทธิ์ลดการเคลื่อนที่ของอสุจิและลดความเข้มข้นของอสุจิในหนูขาว[9]
  • เนื้อผลมะคำดีควายมีสารซาโปนินที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก โรคผิวหนังได้ดี[3],[8],[9] และมีฤทธิ์ฆ่าหอย[9]
  • จากการทดลองด้วยการทาสารสกัดเอทานอลของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้นร้อยละ 2 พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา และการใช้แชมพูจากสารสกัดของผลมะคำดีควายที่ความเข้มข้น 6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าจะช่วยทำให้เส้นผมสะอาดและช่วยลดอาการคันบนหนังศีรษะ[9]
  • จากการทดสอบความเป็นพิษ ด้วยการใช้สารที่สกัดได้จากผลประคำดีควายด้วยแอลกอฮอล์ปริมาณ 50% ในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม โดยทำการทดลองฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งคือ 2.0 กรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าไม่พบอาการพิษ (ขนาดที่ใช้เท่ากับ 2,083 เท่า ของปริมาณยาที่ใช้ในตำรับยา)